“บลิงเคน” พบ “สี” หวังสมานรอยร้าวสหรัฐฯ-จีน

เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ( 19 มิ.ย.)ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ให้การต้อนรับ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่มหาศาลาประชาชน สถานที่ที่จีนมักใช้ต้อนรับประมุขแห่งรัฐ นี่ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกของการเยือนครั้งนี้ เนื่องจากการพบกันระหว่าง

บลิงเคนและประธานาธิบดีสี ถูกจับตามองอย่างมาก เพราะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่าจีนให้ความสนใจที่จะกลับมาสานสายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนอีกครั้งหรือไม่

สหรัฐฯ พบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-เซ็นเซอร์ จากบอลลูนสอดแนมจีน คำพูดจาก ว็บสล็อตต่างประเทศ

รมต.สหรัฐเยือนกรุงปักกิ่ง จีนย้ำประเด็นไต้หวันละเอียดอ่อนสุดในความสัมพันธ์

หลังจากที่ทักทายและถ่ายภาพร่วมกัน ผู้นำทั้งสองก็ได้เข้าไปหารือภายในห้องประชุมประธานาธิบดีสีได้กล่าวว่า จีนและสหรัฐฯ ตกลงที่จะปฏิบัติตามความเข้าใจร่วมกันที่เขาและประธานาธิบดีไบเดนได้บรรลุไว้ ในการพบกันครั้งล่าสุดที่การประชุมสุดยอด G20 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในบางประเด็น โดยไม่มีการขยายความว่าเป็นประเด็นอะไร

โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้พบกับ หวัง อี้ นักการทูตระดับสูงสุดของจีน ที่กรุงปักกิ่ง ก่อนจะเริ่มหารือกันอย่างเป็นทางการในห้องประชุมปิด

ทั้งนี้คาดว่าการประชุมในวันนี้จะเป็นบททดสอบสำคัญของทั้งสหรัฐฯ และจีน ว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพของช่องทางการสื่อสารที่แตกร้าวและพังทลายลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มากน้อยแค่ไหน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการทหารระดับสูง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับสหรัฐฯ ว่า อาจเกิดความผิดพลาดจนกลายเป็นความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว

ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯได้แถลงถึงผลการหารือกับผู้นำของจีน โดยกล่าวว่า สหรัฐฯ เห็นพ้องกับจีนถึงความจำเป็นในการสร้างความมั่นคงทางความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติ และต้องสร้างความมั่นใจว่าการแข่งขันของ 2 ชาติจะไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง

ขณะที่ บลิงเคน และ ฉิน กัง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้ประชุมร่วมกันที่เรือนรับรอง เตี้ยวหยูไท่ ในกรุงปักกิ่งของจีนอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวว่า เป้าหมายหลักของการเจรจาที่กรุงปักกิ่งก็เพื่อต้องการสมานรอยร้าวของความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดอย่างมากระหว่างสองประเทศ

บลิงเคนได้เน้นย้ำในที่ประชุมถึงความสำคัญของการใช้วิธีทางการทูต และรักษาช่องทางการสื่อสารในทุกๆ ประเด็นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเข้าใจผิด และ การประเมินที่ผิดพลาด

ส่วน ฉิน กัง ระบุว่า ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ แตะระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ทั้งสองประเทศสถาปนารื้อฟื้น

ความสัมพันธ์ขึ้นใหม่ ในปี 1979 และประเด็นไต้หวันคือปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบและมีความเสี่ยงมากที่สุดต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯนอกจากนี้ ฉิน กัง ยังเตือนว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติที่ตกต่ำลงไม่เป็นผลดีต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ หรือ ไม่ได้เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความคาดหวังของนานาประเทศ ส่วนการรับมือกับเหตุไม่คาดฝันต่างๆ ควรเป็นไปอย่างรอบคอบ เป็นมืออาชีพ และสมเหตุสมผล

อย่างไรก็ตาม ฉิน กัง กล่าวเน้นย้ำกับบลิงเคนว่า รัฐบาลปักกิ่งมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคง คาดเดาได้ และสร้างสรรค์กับสหรัฐฯและจีนก็หวังเช่นเดียวกันว่าสหรัฐฯจะทำงานร่วมกับจีนในทิศทางเดียวกัน และสนับสนุนรากฐานทางการเมืองระหว่างสองประเทศ

ความไม่ลงรอยกันของสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกมีประเด็นปัญหามากมายที่ต้องหารือกันแต่ว่าในการพบปะกันครั้งนี้ มี 3 ประเด็นสำคัญที่จะเป็นวาระหลักโดยหนึ่งนั้นคือ เรื่องของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ภารกิจแรกและสำคัญที่สุดของบลิงเคนในการเยือนจีนครั้งนี้ คือการฟื้นฟูปฏิสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ และจีนขึ้นมาใหม่ โดย บลิงเคน ถือเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตระดับสูงที่สุดของสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนจีน นับตั้งแต่ปี 2018 หรือ ในรอบ 5 ปี และการเยือนจีนครั้งนี้เกิดขึ้น ท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่เย็นชาและตึงเครียด โดยเฉพาะด้านการทหาร รวมถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลมอสโก

ทั้งนี้รัฐบาลปักกิ่งได้ตำหนิสหรัฐฯ ที่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมกับเตือนสหรัฐฯ ว่า ให้หยุดแทรกแซงกิจการภายในของจีน และหยุดบ่อนทำลายอำนาจอธิปไตย ความมั่นคงของจีนด้วย

แดเนียล ไครเทนบริงก์ นักการทูตอาวุโสด้านเอเชียตะวันออกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า การเยือนจีนของบลิงเคนในครั้งนี้อย่าคาดหวังถึงความก้าวหน้า หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน พร้อมย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายอาจเดินหน้าต่อไปได้ หากการประชุมครั้งนี้นำไปสู่การสื่อสารเพิ่มเติมระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และจีน

ประเด็นที่สองคือ การผ่อนคลายความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เริ่มต้นไม่ได้ดีนัก

โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะประธานาธิบดีไบเดนไม่เต็มใจที่จะยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่สหรัฐฯ บังคับใช้กับจีน ในสมัยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งรวมถึงการเก็บภาษีนำเข้ามูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สำหรับสินค้าที่ผลิตในจีน

นอกจากนี้ประธานาธิบดีไบเดนยังเพิ่มแรงกดดันกับจีนหนักขึ้นในบางเรื่อง หนึ่งในนั้นคือการจำกัดการส่งออกชิปคอมพิวเตอร์ของสหรัฐฯ ไปยังจีน เพื่อรักษาความเหนือกว่าของสหรัฐฯ ในด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงสุด

ขณะที่จีน ออกมาตอบโต้ด้วยการออกคำสั่งห้ามใช้ชิปหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายโดย Micron ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ

ส่วนประเด็นที่สามคือเรื่องของการหลีกเลี่ยงสงคราม หลังเกิดเหตุบอลลูนสอดแนมของจีน ทำให้จีนกำลังพิจารณาที่จะส่งอาวุธให้รัสเซียเพื่อใช้ในการทำสงครามกับยูเครน อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ พยายามที่จะไม่ทำให้เรื่องนี้บานปลายไปมากกว่านี้ และพยายามจัดการกับสิ่งที่อาจเป็นประเด็นปัญหาระหว่างสองประเทศออกไป เนื่องจากเกรงว่า สถานการณ์ในยูเครนและรัสเซียจะกลายเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าในการพบกับในครั้งนี้ บลิงเคน จะเตือนจีนถึงผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น หากจีนให้ความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินกับรัสเซีย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องเรือรบสหรัฐฯ และจีนเผชิญหน้ากันบ่อยครั้งขึ้นในบริเวณช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่สหรัฐฯ ยืนยันว่าเป็นน่านน้ำสากล โดยเป้าหมายการหารือในประเด็นดังกล่าวคือ การลดระดับความเสี่ยง จากความตึงเครียด และฟื้นช่องทางการสื่อสารขึ้นมาใหม่

ทั้งนี้การบรรลุเป้าหมายที่มากกว่านี้อาจเป็นงานยากเกินไป สำหรับสถานการณ์ในเวลานี้ เช่นเดียวกับความร่วมมือที่กว้างมากขึ้นระหว่างสองประเทศอาจเป็นเรื่องยากสำหรับประธานาธิบดีไบเดน เพราะคาดว่าวาทกรรมในการต่อต้านจีนของสหรัฐฯ จะร้อนระอุขึ้น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2024

ดังนั้นผลลัพธ์ที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่ายจากการเดินทางเยือนจีนของบลิงเคนในครั้งนี้ อาจเป็นเพียงการกลับมาเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างกันเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารเท่านั้น

 “บลิงเคน” พบ “สี” หวังสมานรอยร้าวสหรัฐฯ-จีน

การพบปะกันระหว่างนักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และจีน ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทั่วโลก รวมถึงไต้หวัน เพราะอาจส่งผลกระทบ ทั้งตลาดการเงิน แนวทางปฏิบัติทางการค้า เส้นทางการขนส่ง และห่วงโซ่อุปทานของทั่วโลก

การพบปะกันระหว่างของสหรัฐฯ และจีน ทำให้ วันนี้ เฉิน เจี้ยน-เหริน นายกรัฐมนตรีไต้หวัน ออกมาเปิดเผยว่า ไต้หวันกำลังติดตามการหารือระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด รวมถึงติดตามรายละเอียดสำคัญที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่หารือกัน

อย่างไรก็ตามนายกฯไต้หวัน ได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ไต้หวัน และสหรัฐฯ ว่า ทั้งสองชาติมีการสื่อสารที่ดีระหว่างกันเสมอมา