"เศรษฐา" กลับถึงไทยแล้ว เผย ดึงบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมลงทุนหลายพันล้าน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ว่า การเดินทางครั้งนี้มีภารกิจมาก และต้องขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วยทำให้ภารกิจ 4 วัน ผ่านไปได้ โดยมีการพบปะผู้นำหลายประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์ 5 ครั้ง พบกับองค์กรต่างๆ 2 องค์กร ได้พบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ทั้งเทสล่า ไมโครซอฟต์ กูเกิ้ล ซิตี้แบงก์ เจ.พี.มอร์แกน Global ZAC เอสเต ลอเดอร์
"เศรษฐา" เรียกร้องหุ้นส่วนไทยกระชับสัมพันธ์การค้า-พร้อมต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ
เศรษฐา ทวีสิน โพสต์ภาพ พบปะฟังความเห็นนักธุรกิจใหญ่
“เศรษฐา” รับอึดอัด หลังชาวบ้านชมเป็น “นายกที่ดีที่สุดในโลก”
บริษัทเหล่านี้สนใจมาลงทุน บางแห่งมาลงทุนแล้วในรูปแบบต่าง ๆ ที่ประเทศไทย หน้าที่ของตนคือ การประกาศให้คนรู้ว่าประเทศไทยเปิดแล้ว พร้อมและยินดีที่จะให้บริษัทเหล่านี้มาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนั้นได้พบกับตลาดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ก ที่มองเห็นลู่ทางจะให้บริษัทของไทยไปจดทะเบียนที่ตลาดนิวยอร์ก เพราะไม่เคยมีบริษัทใดไปจดทะเบียนเลย หวังว่าในปีนี้จะได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของนิวยอร์กสัก 1 บริษัทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนยังได้พบปะกับประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก ควบคุมฟุตบอลทั้งหมด ได้พูดคุยกันถึงการเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่อาเซียนในปี 2032 หรืออีก 9 ปี เป็นแผนที่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก้าวแรกคือ เราอยากได้รับการสนับสนุนจากฟีฟ่าให้ช่วยดูฟุตบอลรากหญ้า จากเดิมที่เคยให้การสนับสนุนปีละ 2.5 แสนเหรียญต่อปี ตอนนี้เป็นปีละประมาณ 2 ล้านเหรียญ ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก ทำให้คาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้ไปถึงจุดที่ควรจะเป็น
นายกฯ กล่าวว่า แนวคิดของยูเอ็น มีภาวะที่มีการแข่งขันและภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความแตกแยกค่อนข้างมาก เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา ธีมของยูเอ็นในปีนี้คือให้มาดูเรื่องการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน 17 ข้อ โดยกว่า 190 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่เห็นว่าควรมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงเรื่องของภาวะโลกร้อน ซึ่งตนได้ประกาศไปว่าไม่ใช่โลกร้อน แต่เป็นโลกเดือดที่ต้องให้ความสำคัญ
ตลอดจนเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากหากมีสงครามระหว่างประเทศมากจะทำให้มีผู้เดือดร้อน มีผู้อพยพลี้ภัย ต้องดูและให้ความเป็นธรรม ที่สำคัญ จุดยืนที่ตนไปประกาศในเวทีนี้คือ ไปประกาศจุดยืนว่าเราเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งยึดมั่น ช่วยผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และการดำเนินการเศรษฐกิจพอเพียง
นายกฯ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้นำเสนอนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคอัพเกรด ทำให้ประชาชนมีสิทธิเลือกใช้บริการสาธารณสุขของรัฐได้อย่างสมเกียรติ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องดูแลและป้องกันในอนาคต
นายกฯยังระบุว่า นักลงทุนไม่ได้มีความกังวลใดๆ แต่จะมีเรื่องกฎหมายบางข้อ ในการอำนวยความสะดวกในการธุรกิจ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในการประชุมทั้งบีโอไอและกระทรวงการต่างประเทศต่างไปช่วยกันขยายความว่าไทยพร้อมสำหรับการลงทุน พร้อมที่จะรับฟังความเห็น อะไรทำได้จะทำก่อน อะไรที่ต้องแก้ไขกฎกติกา จะมาดูความเหมาะสมอีกครั้ง ทั้งนี้มีหล่ยบริษัทมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน เช่น เทสล่า ที่จะมาดูเรื่องของการเปิดโรงงานผลิตรถยนต์อีวี ขณะที่ไมโครซอฟต์ กูเกิ้ล มาดูเรื่องการทำดาต้า เซนเตอร์ ที่จะมีการลงทุนสูงมาก ประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อรายสำหรับการลงทุนขั้นต้น
ส่วนอุปสรรคด้านกฎหมายต่อการลงทุน เรื่องใดสำคัญที่สุด นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่มีเรื่องใดเป็นพิเศษ แต่รัฐบาลไม่ได้ไปค้าขายระหว่างประเทศมานาน ทำให้บางบริษัทมีความกังวลเวลาที่มาลงทุน จะมีกฎที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ของเราอาจยังไม่มีการดูแลตรงนี้ ซึ่งต้องนำไปพิจารณาดูแลรายละเอียดให้เกิดความเหมาะสม
ส่วนการประเมินการลงทุนในการหารือครั้งนี้นั้นยอมรับว่าประเมิน ประเมินได้ลำบาก เพราะภาคอุตสาหกรรม เช่น เทสล่า ไมโครซอฟต์ กูเกิ้ล การลงทุนขั้นต้นประมาณ 5 พันล้านเหรียญ แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาจจะทำให้เกิดการลงทุนที่สูงมากหากมาตั้งสำนักงานที่ประเทศไทย มีโอกาสที่บริษัทเหล่านั้นอาจเผยแพร่ความน่าอยู่และตัวเลขเศรษฐกิจ ความเจริญของประเทศไทย และนำบริษัทอื่นมาลงไทุนในไทย และในการประชุมเอเปกที่จะเกิดขึ้น อาจจะเชิญบริษัทขนาดกลางเพื่อเปิดโอกาสได้ไปเสนอตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนข้ามชาติที่ไทยไปลงทุนในต่างประเทศหรือเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เป็นการเปิดช่องทาง สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ประชาชน