จับตาอนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง
เหตุแผ่นดินไหวญี่ปุ่นปีใหม่ 2024 ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง แม้ญี่ปุ่นจะไม่ได้เปิดใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มากเท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังคงพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ดี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเคยกลายเป็นกระแสร้อนแรงจนต้องโดนสั่งปิด เมื่อครั้้งเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม มี.ค.2011 หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเกิดวิกฤตระบบหล่อเย็นล้มเหลว ทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหล และน้ำที่ใช้หล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ก็ปนเปื้อน
ยูเครนเผยหลักฐาน รัสเซียใช้ขีปนาวุธเกาหลีเหนือ
สหรัฐฯ สั่งระงับ “โบอิ้ง 737 แม็กซ์ 9” หลังหน้าต่างหลุดกลางอากาศ
สุดเศร้า! "คริสเตียน โอลิเวอร์" นักแสดงดังเสียชีวิต เหตุเครื่องบินตก พร้อมลูกสาว 2 คน
แต่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2023 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ผู้นำคนปัจจุบัน อนุมัตินโยบายเปลี่ยนผ่านสีเขียว ซึ่งจะเป็นการขยายอายุของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้เกิน 60 ปี และหาตัวใหม่มาแทนที่ตัวเก่า นับเป็นนโยบายที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ จากนโยบายเดิมที่ญี่ปุ่นเคยใช้หลังเกิดภัยพิบัติในปี 2011
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 12 แห่งที่กลับมาเปิดอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 2011 ในจำนวนนี้ 5 แห่งได้รับอนุญาตให้เริ่มออนไลน์อีกครั้ง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบในขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะเริ่มเดินเครื่องใหม่ ส่วนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีก 10 เครื่องยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบว่าจะสามารถกลับมาเปิดใช้งานได้อีกครั้งหรือไม่
ขณะที่เตาปฏิกรณ์อีก 9 เครื่องไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินเครื่องใหม่ และอีก 24 เครื่อง ซึ่งรวมถึงเตาปฏิกรณ์ 10 ตัวของบริษัทเทปโก ในจังหวัดฟูกุชิมะ กำลังถูกปลดระวาง
นโยบายของนายกฯ คิชิดะยังรวมถึงการยกเลิกคำสั่งแบนการดำเนินงานของ โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ–คาริวะ (Kashiwazaki-Kariwa) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย โดยเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลด้านพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น หรือ "เอ็นอาร์เอ" (NRA) ประกาศยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ–คาริวะ (Kashiwazaki-Kariwa) ซึ่งถูกสั่งปิดยาวหลายปี นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด ในการปูทางสู่การเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งนี้ขึ้นอีกครั้ง
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค หรือ "เทปโก" (TEPCO) กระตือรือร้นที่จะเปิดใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน
โดยมีกำลังการผลิตสูงถึง 8,212 เมกะวัตต์ แต่การกลับมาเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นั้น จำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดนีงาตะ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งติดกับทะเลญี่ปุ่นเสียก่อน
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ–คาริวะ ไม่มีการผลิตไฟฟ้ามานับตั้งแต่ปี 2011 ที่ผ่านมา หลังภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ในจังหวัดฟุกุชิมะ ทำให้ญี่ปุ่นสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศในขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 ที่ผ่านมา "เอ็นอาร์เอ" ได้ออกคำสั่งแบนการดำเนินงานของเทปโกที่โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ–คาริวะ เนื่องจากพบปัญหาการละเมิดมาตรการด้านความปลอดภัยหลายประการ รวมถึงความล้มเหลวในการป้องกันวัสดุนิวเคลียร์ และข้อผิดพลาดอื่น ๆ เช่น การให้พนักงานมีสิทธิเข้าถึงพื้นที่อ่อนไหวของโรงไฟฟ้าได้
ขณะที่ล่าสุด หน่วยงานกำกับดูแลด้านพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ยกเลิกคำสั่งห้ามเทปโก เคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงยูเรเนียมใหม่เข้าไปในโรงไฟฟ้าหรือโหลดแท่งเชื้อเพลิงเข้าเตาปฏิกรณ์ โดยให้เหตุผลว่า เทปโกปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยจนได้มาตรฐานเป็นที่น่าพึงพอใจคำพูดจาก สล็อต888
รายงานระบุว่า ญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG เพราะนับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011 ญี่ปุ่นก็ต้องหันไปซื้อก๊าซ LNG มากขึ้น จนกลายเป็นประเทศผู้ซื้อก๊าซ LNG อันดับต้นๆของโลกใบนี้
นั่นทำให้ญี่ปุ่นต้องพยายามหันมาหาพลังงานสะอาด ตามนโยบายเปลี่ยนผ่านสีเขียวของผู้นำคนปัจจุบัน โดยอีกหนึ่งความเคลื่อนไหว คือญี่ปุ่นก็ได้เริ่มเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันสำหรับทดลองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองนากะ ในจังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ1 ธ.ค. เพื่อศึกษาหาแหล่งพลังงานใหม่ที่จะเป็นอนาคตของมนุษยชาติ
การสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการสร้างพลังงานสะอาดโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป โดยนิวเคลียร์ฟิวชัน (Fusion) จะเป็นการหลอมนิวเคลียสของอะตอม 2 ตัวเข้าด้วยกันจนเกิดพลังงาน แบบเดียวกับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแตกต่างจากเทคนิคในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรง