ย้ำ! ประชุม “เอเปค” รถไฟฟ้าไม่จอด “ศูนย์ประชุมฯสิริกิติ์” 16-19 พ.ย.
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. ในฐานะดูแลการให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ได้เตรียมพร้อมมาตรการอำนวยความสะดวก และปลอดภัยในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สาย รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างทุกโครงการของ รฟม. เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน และผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16-19 พ.ย. 65 ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
สำหรับรายละเอียดมาตรการฯ มีดังนี้ ปิดสถานีรถไฟฟ้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และงดบริการรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 65 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 19 พ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 65 เวลา 18.00 น. ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร เพื่อเตรียมการจัดการประชุมเอเปค ทั้งนี้ผู้โดยสารยังคงสามารถใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินในสถานีอื่นๆ ได้ตามปกติ
ประชาชนที่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่บริเวณดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศ จัดรถโดยสารบริการรับ-ส่ง บนถนนรัชดาภิเษก บริเวณแยกพระรามที่ 4 ใกล้สถานีรถไฟฟ้าคลองเตย และแยกอโศกมนตรี บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสุขุมวิท แบบไม่คิดค่าบริการ เพื่อลดผลกระทบ และให้บริการประชาชน ตลอดจนอำนวยความสะดวกผู้เข้าร่วมการประชุม สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีจุดหยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารระหว่างทาง 4 จุด ได้แก่ จุดหยุดรถที่ 1 : หน้าโรงแรมโมเดน่า บาย เฟรเซอร์ กรุงเทพฯ จุดหยุดรถที่ 2 : ป้ายรถโดยสารประจำทางตรงข้ามอาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ จุดหยุดรถที่ 3 : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) และจุดหยุดรถที่ 4 : หน้าอาคาร Exchange Tower ฝั่งถนนรัชดาภิเษกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้จะปิดให้บริการลานจอดรถสถานีรถไฟฟ้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 16-19 พ.ย.65 ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการลานจอดรถได้ที่สถานีใกล้เคียง ได้แก่ ลานจอดรถสถานีรถไฟฟ้าเพชรบุรี และลานจอดรถสถานีสถานีรถไฟฟ้าสามย่าน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมาตรการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในระบบรถไฟฟ้า รฟม. ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานให้บริการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสีม่วง เตรียมความพร้อมพนักงาน อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานีรถไฟฟ้า ให้พร้อมสำหรับให้บริการประชาชน โดยเฉพาะในสถานีที่คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ได้แก่ สถานีหลักสอง, หัวลำโพง, สีลม, สุขุมวิท, สวนจตุจักร, บางซื่อ, เตาปูน และตลาดบางใหญ่
ขณะเดียวกันให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตรา สอดส่องดูแล สังเกตบุคคลที่ต้องสงสัย และพฤติกรรมของชาวต่างชาติ ตลอดจนสัมภาระที่ผู้ใช้บริการนำติดตัวเข้ามาในระบบรถไฟฟ้า พร้อมกันนี้ รฟม. ได้จัดวางอัตรากำลังพนักงาน รักษาความปลอดภัย พนักงานกู้ภัย พนักงานรักษาเขตทาง พนักงานพิสูจน์ทราบ (EOD) พนักงานผู้บังคับสุนัข (K-9) เพื่อตรวจตราเฝ้าระวังและอำนวยความสะดวกโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า อาคาร และลานจอดรถ รวมถึงจัดพนักงานสื่อสารประจำศูนย์วิทยุพสุธา รฟม. ในการตรวจตราทาง CCTV และรับแจ้งเหตุผิดปกติ เหตุฉุกเฉิน ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2938-3666 และ 08-9925-1705 ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดเตรียมแผนการรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย และเกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ตลอดจนประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า
ขณะที่มาตรการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า รฟม. ได้กำชับให้ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างของโครงการและผู้รับจ้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างทุกโครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เตรียมพร้อมอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
โดยเน้นย้ำให้ผู้รับจ้างงานโยธาทั้ง 4 โครงการ ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจสอบ และจัดสภาพหน้างานให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและช่องเปิดต่างๆ จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรให้เรียบร้อยปลอดภัย ไม่กีดขวางจราจร จัดแนวแบริเออร์ให้เป็นระเบียบ ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายทางเบี่ยง ทางเลี่ยง และปิดกั้นแนวรั้วคอนกรีตบริเวณจุดที่เป็นอันตรายให้เรียบร้อย รวมถึงติดตั้งไฟส่องสว่างให้ชัดเจน ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และจัดเก็บวัตถุไวไฟ หรือสารไวไฟให้ปลอดภัย นอกจากนี้ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และเตรียมอุปกรณ์ด้านจราจร พร้อมให้การช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น.